ในปัจจุบัน ออฟฟิศซินโดรม ถือเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีเกิดขึ้นมาเองจากพฤติกรรมของตัวเรา และเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในหมูที่พนักงานออฟฟิศ เป็นโรคที่เกิดขึ้นง่ายๆโดยที่เราเองก็ไม่ได้รู้ตัวเลย เพียงแค่นั่งทำงานผิดท่า หรือนั่งทำงานนานจนเกินไปก็อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้แล้ว หลายคนอาจจะละเลยหรือมองข้ามโรคนี้ไปเพราะอาการเบื้องต้นนั้นไม่ได้เหมือนจะเป็นโรคร้ายแรงอะไรเลย แต่บอกเลยว่าถ้าเก็บไว้นานหรือไม่แก้ไขโอกาสที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกก็เป็นได้ เพื่อเป็นแนวทางป้องกันและดูแลตัวเองในเบื้องต้น วันนี้เรามีวิธีสังเกตอาการ หรือการรักษาด้วยตัวเองมาฝากกัน
อาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม
- ตาพร่า สายตาที่พร่ามัวนั้นคุณอาจจะมองว่าเกินจากการจ้องคอมนานจนเกินไป หรือใช้สายตาเพ่งมากเกินไปไม่นานก็คงหาย ทางเราขอบอกเลยว่าสายตาที่เริ่มพร่านั้นเป็นจุดเล็กๆที่ส่งผลเรื้อรังได้อย่างแน่นอน หากคุณไม่มีการป้องกันสายตาหรือปรับเปลี่ยนการจ้องจอคอมพิวเตอร์
- ปวดศีรษะ ถ้าคุณเป็นไมเกรนอยู่แล้วบอกเลยว่าคุณอาจจะมองว่ามันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย แต่ทางเราบอกไว้ตรงนี้เลยนะว่ามีส่วนเกี่ยวข้องแบบเต็มๆ เพราะส่วนหนึ่งเป็นเพราะคุณมีความเครียดสะสม หรือเป็นเพราะคุณคิดหรือวุ่นวายกับงานอยู่ ส่งผลให้คุณปวดหัวอย่างเรื้อรัง
- ปวดบ่า ต้นคอ และไหล่ เคยไหมนั่งเป็นเวลานานๆจะเกิดอาการเมื่อยหรือปวดตรง บ่า หรือไหล่ ด้วยความที่คุณอยู่กับท่าเดิมๆมากจนเกินไป ทำให้เกิดอาการเส้นยึด บางคนอาจจะเป็นหนักถึงขั้นเวลาก้มหรือเงยหน้าขึ้นมาจะมีอาการเจ็บ
- ปวดหลัง อาการยอดฮิตที่คิดว่ามันจะหายเอง บอกเลยว่าไม่มีทางถ้าคุณไม่มีเวลาออกไปยืดเส้นสาย หรือปรับเปลี่ยนการนั่งทำงาน บอกเลยว่าคุณมีโอกาสที่เป็นโรคเกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกอย่างแน่นอน
- อาการชาบริการเท้า หรือปวดขา เมื่อคุณนั่งหย่อนขามาเป็นเวลานาน หรือไม่ได้มีการยืดเส้นยืดสาย หรือเปลี่ยนการนั่งทำงาน อาจจะส่งผลให้ระบบประสาทหรือการไหลเวียนของเลือกมีปัญหา
แนวทางและวิธีการรักษาเบื้องต้น
- จัดสรรเวลาให้ตัวเองได้มีการเดินหรือยืนบ้าง เพื่อที่จะได้คลายกล้ามเนื้อในทุกส่วน อย่านั่งจ้องจอในท่าเดิมๆนานเกินไป
- ปรับแสงหรือความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือ รวมไปถึงหน้าจอโทรศัพท์ให้มีการถนอมสายตามากขึ้น
- จัดโต๊ะทำงานให้มีพื้นที่สีเขียวบนโต๊ะ เช่น เอาต้นไม้มาประดับโต๊ะ เพื่อให้คุยได้มองอย่างสบายตา
อ้างอิงข้อมูลเบื้องต้น รพ.ศิครินทร์
อ่านบทความเพิ่มเติม เปิดโลก เปิดใจ ประโยชน์ของ กระท่อม ที่คุณยังไม่รู้มาก่อน